พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๘๒ มีสาระสำคัญในเรื่องการลงโทษทางวินัย โดยได้มีการกระจายอำนาจในการพิจารณาของ ก.พ. ไปให้ อ.ก.พ.กระทรวง อ.ก.พ.กรม และ อ.ก.พ.จังหวัด เพิ่มขึ้น คือ ในการพิจารณาให้ข้าราชการออกจากราชการฐานมีมลทินหรือมัวหมอง หรือหย่อนความสามารถ และการไล่ข้าราชการออกจากราชการ ซึ่งเดิม ก.พ. เป็นผู้พิจารณาทุกชั้น เปลี่ยนเป็นคงให้ ก.พ. พิจารณาเฉพาะชั้นพิเศษและชั้นเอก ส่วนชั้นโทและชั้นตรี ให้ อ.ก.พ.กระทรวงพิจารณา ชั้นจัตวาให้ อ.ก.พ.กรม หรือ อ.ก.พ.จังหวัดพิจารณา
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๘๕ ยกเลิกข้าราชการพลเรือนฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร และเปลี่ยนสภาพเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการพลเรือนวิสามัญ แล้วแต่กรณี และให้ ก.พ. มีอำนาจหน้าที่พิจารณาดำเนินการเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกหลายประการ เช่น
นอกจากนี้ ก.พ. ยังได้รับมอบหมายหน้าที่อื่น ๆ จากคณะรัฐมนตรี เช่น การพิจารณาจัดแบ่งส่วนราชการ และการตั้งอัตราเงินเดือนเพิ่มใหม่ เป็นต้น
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้มีการปรับปรุงให้แต่งตั้งข้าราชการประจำประเภทใด ๆ ให้รักษาราชการในตำแหน่งข้าราชการพลเรือนที่ว่าง หรือที่ผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่งสามารถแต่งตั้งข้าราชการทหารมารักษาการในตำแหน่งข้าราชการพลเรือนได้ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต่างจากเดิมที่ต้องแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนเท่านั้น