อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (5) และมาตรา 110 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 43 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
1) กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนสำหรับกรณีที่ไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ ตามมาตรา 110 (2) ให้สั่งได้เฉพาะการไปปฏิบัติงานในหน่วยงาน ดังต่อไปนี้
(6) หน่วยงานอื่นตามที่ ก.พ. กำหนด
หน่วยงานตามวรรคหนึ่งต้องเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งใหม่เป็นเวลาไม่เกินห้าปี
การไปปฏิบัติงานตามความประสงค์ของทางราชการตามกฎ ก.พ. นี้ หมายถึง การไปปฏิบัติงานตามความประสงค์ร่วมกันของหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานตามข้อ 2 และต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยอาจเป็นไปเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานตามข้อ 2 หรือเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการโดยรวมก็ได้
การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการตามกฎ ก.พ. นี้ ให้สั่งได้เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น
ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ก.พ. จะพิจารณายกเว้นคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นการเฉพาะรายก็ได้
ให้ไว้ ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.