อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (5) และมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 43 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
1) กฎ ก.พ.นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เมื่อมีกรณีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง ให้ ก.พ. เปิดโอกาสให้ปลัดกระทรวง อธิบดีหรือผู้มีหน้าที่นั้นได้ชี้แจงถึงเหตุที่ไม่ปฏิบัติตามมติ ก.พ. ดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด
เมื่อ ก.พ. ได้พิจารณาจากพฤติการณ์และคำชี้แจงของปลัดกระทรวง อธิบดี หรือผู้มีหน้าที่ตามข้อ 2 แล้ว ให้ ก.พ. มีมติอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
ข้อ 4 เมื่อ ก.พ. มีมติตามข้อ 3 แล้ว ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน ก.พ. สั่งการตามมติ ก.พ. นั้น
ให้ไว้ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า ในกรณีที่ ก.พ. มีมติว่า กระทรวง กรม หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือปฏิบัติการโดยขัดหรือแย้งกับแนวทางตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ซึ่ง ก.พ.ได้แจ้งให้ดำเนินการแก้ไข ยกเลิก หรือยุติการดำเนินการดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดแล้ว แต่ไม่ดำเนินการตามมติ ก.พ. ภายในเวลาที่กำหนด โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าปลัดกระทรวง อธิบดี หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวกระทำผิดวินัย และให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. ในการดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษผู้นั้นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ ก.พ. สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการทางวินัยและการสั่งลงโทษเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้