อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (5) และมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 43 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
1) กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอำนาจสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำกระทรวง ประจำกรม หรือประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี เป็นการชั่วคราว โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ดังต่อไปนี้
การขอให้ ก.พ. พิจารณาอนุมัติกรณีตามข้อ 2 (7) ให้แสดงรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ข้อ 4 การสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำกระทรวง ประจำกรม หรือประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 สั่งได้เป็นเวลาไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ผู้นั้นถูกสั่ง เว้นแต่การสั่งตามข้อ 2 (7) ให้สั่งได้ไม่เกินกำหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. แต่ต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ผู้นั้นถูกสั่ง
เมื่อมีการสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ประจำกระทรวง ประจำกรม หรือประจำจังหวัดแล้วและผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เห็นว่ายังมีเหตุผลความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องให้ผู้นั้นประจำกระทรวง ประจำกรม หรือประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี ต่อไปเกินกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งให้ขออนุมัติขยายเวลาต่อ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณีได้อีก แต่กำหนดเวลาที่ขอขยายนั้นเมื่อรวมกับกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งแล้วต้องไม่เกินหนึ่งปีหกเดือนนับแต่วันที่ผู้นั้นถูกสั่งให้ประจำกระทรวง ประจำกรม หรือประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้ขอขยายเวลาก่อนวันครบกำหนดเวลาเดิมไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
การขออนุมัติขยายเวลาตามวรรคสองให้นำความข้อ 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำกระทรวง ให้สั่งได้สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
การสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำกรม ให้สั่งได้สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ และตำแหน่งประเภททั่วไป
การสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำจังหวัด ให้สั่งได้สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ และตำแหน่งประเภททั่วไป
เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 สั่งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดให้ประจำกระทรวง ประจำกรม หรือประจำ จังหวัด แล้วแต่กรณี โดยมีเหตุผลความจำเป็นในกรณีใดเมื่อหมดความจำเป็นหรือครบกำหนดเวลาตามข้อ 4 แล้ว ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งหน้าที่เดิม หรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน การดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ประจำกระทรวง ประจำกรมหรือประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี ตามกฎ ก.พ. นี้ ให้ดำเนินการโดยถือเสมือนว่าข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งนั้นดำรงตำแหน่งเดิม
ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งให้ประจำกระทรวง ประจำกรม ประจำกองหรือประจำจังหวัด อยู่ก่อนวันที่กฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการกับกรณีดังกล่าวต่อไปตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ประจำกระทรวง ประจำทบวง ประจำกรม ประจำกองหรือประจำจังหวัด จนกว่าคำสั่งนั้นจะสิ้นผล
ให้ไว้ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอำนาจสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำส่วนราชการเป็นการชั่วคราวโดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามที่กำหนดใน กฎ ก.พ. และการให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ประจำส่วนราชการเป็นการชั่วคราว พ.ศ. 2554