อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (5) และมาตรา 110 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 43 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
1) กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เมื่อมีกรณีที่จะต้องสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพราะเหตุดังต่อไปนี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ต้องให้ผู้นั้นมีโอกาสได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน
หากผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 พิจารณาหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่ามีเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามมาตรา 110 (3) หรือ (8) เพราะเหตุดังกล่าว แล้วแต่กรณี
เมื่อมีกรณีที่จะต้องสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพราะเหตุดังต่อไปนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อทำการสอบสวนโดยไม่ชักช้า
การสอบสวนตามวรรคหนึ่งและการสั่งให้ออกจากราชการ ให้นำความในมาตรา 95 วรรคหนึ่ง และมาตรา 97 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อมีกรณีที่จะต้องสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพราะเหตุที่มีกรณีถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา 93 และผลการสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง หากผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เห็นว่ามีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวนถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามมาตรา 110 (7) โดยให้นำมาตรา 97 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการตามกฎ ก.พ. นี้ ให้ทำเป็นคำสั่งระบุเหตุแห่งการสั่งให้ออกจากราชการ ระบุวันที่จะให้ออกจากราชการซึ่งต้องเป็นไปตามระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยวันออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ รวมทั้งต้องแจ้งสิทธิและระยะเวลาในการอุทธรณ์ไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
เมื่อได้มีคำสั่งตามวรรคหนึ่งแล้วให้แจ้งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการทราบภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการ และให้รายงาน อ.ก.พ.กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการ
ในกรณีที่มีการดำเนินการเพื่อสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ เพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพราะเหตุตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ.นี้ ก่อนวันที่กฎ ก.พ.นี้ใช้บังคับ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ให้คงดำเนินการต่อไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และเมื่อได้มีคำสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการแล้วให้ดำเนินการตามมาตรา 110 วรรคสาม ต่อไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 110 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติให้การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามมาตรา 110 (3) กรณีขาดคุณสมบัติทั่วไป หรือมีลักษณะต้องห้าม มาตรา 110 (6) กรณีหย่อนความสามารถบกพร่องในหน้าที่หรือประพฤติตนไม่เหมาะสม มาตรา 110 (7) กรณีมีมลทินหรือมัวหมอง และมาตรา 110 (8) กรณีต้องรับโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยความยุติธรรมและปราศจากอคติ โดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพของทางราชการ และเป็นหลักประกันความเป็นธรรมแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้