อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (5) และมาตรา 50 วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
1) กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ให้ยกเลิกความในข้อ 3 (2) (ฉ) แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ฉ) รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ”
ให้ยกเลิกความในข้อ 3 (3) (ค) แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(ค) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ”
ให้ไว้ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ. ได้กำหนดให้ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 21,000 บาท เนื่องจากเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีลักษณะการเข้าสู่ตำแหน่งแตกต่างจากหัวหน้าส่วนราชการโดยทั่วไป ตลอดจนหน้าที่และความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจและลักษณะงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีความสำคัญในระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ซึ่งมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นขององค์กรระหว่างประเทศ และได้กำหนดให้ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 14,500 บาท จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2559