อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (5) มาตรา 45 มาตรา 46 และมาตรา 131 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
1)กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตำแหน่งที่มีอำนาจและหน้าที่ในการบริหารงานในฐานะที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการหรือรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือกรม ตำแหน่งที่มีฐานะเป็นผู้ปฏิบัติงานตรวจและแนะนำการปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับกระทรวง และตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการหรือรองหัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทบริหารตามหลักเกณฑ์ในกฎ ก.พ. นี้
ตำแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ ดังต่อไปนี้
รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ และรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งที่มีอำนาจและหน้าที่ในการบริหารงานในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม ซึ่งมีการแบ่งส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากหรือสูงมากเป็นพิเศษที่ ก.พ. กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการตามหลักเกณฑ์ในกฎ ก.พ. นี้
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มี 2 ระดับ ดังต่อไปนี้
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ความรู้ ในทางวิชาการซึ่ง ก.พ. กำหนดว่าต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ ของตำแหน่งนั้น โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทวิชาการตามกฎ ก.พ. นี้
ตำแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ ดังต่อไปนี้
ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งซึ่งมิใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ และประเภทวิชาการ แต่เป็นตำแหน่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานซึ่งเน้นการใช้ทักษะ ฝีมือในการปฏิบัติงาน โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก และในกรณีที่เห็นสมควร ก.พ. จะกำหนดว่าตำแหน่งใดต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้นด้วยก็ได้ หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภททั่วไปตาม กฎ ก.พ. นี้
ตำแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ ดังต่อไปนี้
ให้ตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดให้เทียบเป็นตำแหน่งประเภทบริหารตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา 39 (3) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ไว้แล้วก่อนวันที่ กฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ เป็นตำแหน่งตามประเภท และระดับ ตามกฎ ก.พ. นี้ ดังต่อไปนี้
ในกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุผลอันสมควร ให้ ก.พ. มีอำนาจกำหนดให้ตำแหน่งอื่นใดนอกจากที่กำหนดไว้แล้วในกฎ ก.พ. นี้ เป็นตำแหน่งประเภทใด ระดับใด ตามกฎ ก.พ. นี้ ก็ได้
การปฏิบัติงานใดที่จะเป็นการปฏิบัติงานที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูง หรือต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรือต้องตัดสินใจหรือแก้ปัญหา หรือมีผลกระทบของงาน ในระดับใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะหรือวิชาชีพเฉพาะระดับ 9 ระดับ 10 หรือระดับ 11 ตามมาตรา 39 และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 อยู่แล้วในวันก่อนวันที่ กฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ และได้รับการจัดเข้าสู่ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ หรือระดับทรงคุณวุฒิ ตามกฎ ก.พ. นี้ ให้ถือว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ตามกฎ ก.พ. นี้แล้ว
ให้ไว้ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 45 บัญญัติให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี 4 ประเภท ได้แก่ ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ และตำแหน่งประเภททั่วไป และมาตรา 46 กำหนดระดับตำแหน่งในแต่ละประเภทตำแหน่งดังกล่าวไว้ด้วย สำหรับการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.พ. ดังนั้น เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญสำหรับใช้เป็นบรรทัดฐานเทียบเคียง การกำหนดตำแหน่งในส่วนราชการ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. 2551