โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบว่าด้วยการปฏิบัติงานในอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ค. การมอบหมายงาน และการรักษาการแทน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 31 (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และมติ ก.พ.ค. ในการประชุมครั้งที่ 7/2552 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2552 ก.พ.ค. จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ.ค. ว่าด้วยการปฏิบัติงานในอำนาจหน้าท่ี่ของ ก.พ.ค. การมอบหมายงาน และการรักษาการแทน พ.ศ. 2552”
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
การปฏิบัติงานของ ก.พ.ค. ทั้งคณะโดยปกติใช้วิธีการประชุมซึ่งกำหนดโดยระเบียบ ก.พ.ค. ว่าด้วยการประชุมคณะกรรมการ ก.พ.ค. คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ การออกกฎ ก.พ.ค. ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการ เพื่อปฏิบัติงาน ในอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ค. ตามที่กฎหมายกำหนดนัั้น เมื่อ ก.พ.ค. มีมติให้ใช้บังคับแล้ว ให้ประธาน ก.พ.ค. เป็นผู้ลงนามและ ดำเนินการเพื่อใช้บังคับต่อไป
ให้ประธาน ก.พ.ค. มีอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติงาน หรือการดำเนินการอื่น ตามท่ี่กำหนดไว้ในกฎหมาย กฎ ก.พ.ค. กฎ ก.พ.ค. ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อปฏิบัติงานในอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ค. หรือตามที่ ก.พ.ค. มีมติมอบหมาย
นอกจากการจ่ายสำนวนเรื่องอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ ตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ.ค. แล้ว ให้ประธาน ก.พ.ค. มีอำนาจสั่งการ ในเรื่องการเสนอแนะเกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรมตามมาตรา 31 (1) และเรื่องการคุ้มครองระบบคุณธรรมตามมาตรา 126 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ด้วย โดยประธาน ก.พ.ค. อาจสั่งให้กรรมการ ก.พ.ค. คนหนึ่ง คนใด คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ที่ตั้งเป็นองค์คณะวินิจฉัยคณะหนึ่งคณะใด หรือแต่งตั้ง คณะกรรมการประกอบด้วยบุคคลที่เห็นสมควร เพื่อรับผิดชอบดำเนินการเรื่องดังกล่าวก็ได้
ถ้ามิได้มีการกำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ประธาน ก.พ.ค. อาจมอบอำนาจให้ กรรมการ ก.พ.ค. เลขานุการ ก.พ.ค. กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ร้องทุกข์ หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ปฏิบัติงานแทนก็ได้
ในกรณีที่ประธาน ก.พ.ค. ไม่อาจปฏิบัติงานได้ ให้กรรมการ ก.พ.ค. คนใดคนหนึ่ง ตามที่ประธาน ก.พ.ค. กำหนด โดยความเห็นชอบ ของ ก.พ.ค. เป็นผู้รักษาการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธาน ก.พ.ค. ให้ ก.พ.ค. เลือกกันเอง ให้กรรมการ ก.พ.ค. คนหนึ่งรักษาการแทนประธาน ก.พ.ค. จนกว่าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธาน ก.พ.ค. คนใหม่
ให้นำความในข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 มาใช้บังคับกับประธานคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือร้องทุกข์ ที่ตั้งเป็นองค์คณะวินิจฉัยด้วย โดยอนุโลม
ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือร้องทุกข์ ในองค์คณะวินิจฉัยไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติงานได้ หรือมีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน ในอำนาจหน้าที่ของคณะคณะวินิจฉัย หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น และประธาน ก.พ.ค. พิจารณาเห็นเป็นการสมควรเพื่อประโยชน์ในการพิทักษ์ระบบ คุณธรรม อาจสั่งให้องค์คณะวินิจฉัยอื่นพิจารณาวินิจฉัย หรือดำเนินการในเรื่องหนึ่งเรื่องใดแทนองค์คณะวินิจฉัยเดิมก็ได้
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตามข้อ 7 วรรคสอง ให้แจ้งผู้เกี่ยวข้องเพื่อใช้สิทธิตามกฎหมาย กฎ ก.พ.ค. ระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือวิธีการ ที่กำหนดไว้ และการดำเนินการใด ๆ ที่ได้พิจารณาดำเนินการไว้แล้วโดยชอบให้เป็นอันใช้ได้ และให้เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือร้องทุกข์ใหม่ ที่จะพิจารณาดำเนินการตามท่ี่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
ประธาน ก.พ.ค. มีอำนาจสั่งการให้รวมเรื่องอุทธรณ์ เรื่องร้องทุกข์ ที่มีมูลกรณีเดียวกัน หรือเกี่ยวข้องกัน เพื่อพิจารณาเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้
ให้ผู้รักษาการแทนตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ที่ตนแทน
ให้ประธาน ก.พ.ค. รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศหรือคำสั่งเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประธาน ก.พ.ค. อาจหารือท่ี่ประชุม ก.พ.ค. เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยก็ได้
การดำเนินการใด ๆ ที่ประธาน ก.พ.ค. ได้สั่งการไว้ก่อนท่ี่ระเบียบนี้จะใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552
นายศราวุธ เมนะเศวต
ประธานกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม