OCSC Wiki

คลังกลางความรู้ด้าน HR

User Tools

Site Tools


องค์ความรู้กฎหมาย:หนังสือเวียน:2551:ว_3_หลักเกณฑ์_วิธีการ_และขั้นตอนการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการฯ

ว 3/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 9 ในสำนักงานรัฐมนตรี

ที่ นร 1012/ว 3

สำนักงาน ก.พ.

ถนนพิษณุโลก กทม. 10300

30 มิถุนายน 2551

เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และขั้นตอนการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งระดับ 9 ในสำนักงานรัฐมนตรี

เรียน (เวียนกระทรวง กรมและจังหวัด)

อ้างถึง หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 22 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540

สิ่งที่ส่งมาด้วย รายละเอียดแนวทางและตัวอย่างการจัดทำเครื่องมือประกอบการพิจารณา ความเหมาะสมกับตำแหน่ง

ตามหนังสือที่อ้างถึง แจ้งมติ ก.พ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และขันตอนการคัดเลือก เพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 8 ลงมา และระดับ 9 ระดับ 10 ระดับ 11 มาเพื่อถือปฏิบัติ ความแจ้งแล้ว นั้น

ก.พ. พิจารณาเห็นว่า โดยที่ ก.พ. ได้ปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งหัวหน้าสำนักงาน รัฐมนตรีเป็นตำแหน่งระดับ 9 บส. ประกอบกับมติ ก.พ. ตามหนังสือที่อ้างถึงดังกล่าว มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และขันตอนเกี่ยวกับการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ๙ในสำนักงานรัฐมนตรีไว้แต่ประการใด ดังนั้นเพื่อให้สามารถดำเนินการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว อาศัยอำนาจตามมาตรา 52 มาตรา 58 และมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลใช้บังคับตามนัยมาตรา ๑๓๑แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2551 ก.พ.จึงมีมติกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และขันตอนการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ๙ในสำนักงานรัฐมนตรีเพิ่มเติมไว้ ดังต่อไปนี้

1. ให้ อ.ก.พ. กระทรวง มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน เพื่อพิจารณาคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 9 ที่ว่างในสำนักงานรัฐมนตรี ดังนี้

1.1 ประธาน 1 คน

1.2 กรรมการประกอบด้วย

- เลขานุการรัฐมนตรีในสำนักงานรัฐมนตรีที่มีตำแหน่งว่าง หรืออธิบดี หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาตำแหน่งว่าง ตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง เห็นสมควร 1 คน

- ผู้แทน ก.พ. ใน อ.ก.พ. กระทรวง 1 คน

- ผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ. กระทรวง 1 คน และ

- ผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงอธิบดี หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 10 ขึ้นไปที่เป็น อ.ก.พ. กระทรวง ผู้ได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือน 1 คน

ในกรณีที่ อ.ก.พ.กระทรวงเห็นสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการเกิน 5 คน ก็ให้แต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนที่ดำรงตำแหน่งในระดับไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่จะแต่งตั้งได้อีกไม่เกิน 2 คน

1.3 ให้คณะกรรมการเลือกผู้เป็นหัวหน้าส่วนราชการที่รับผิดชอบงานการเจ้าหน้าที่ ของกระทรวงในสังกัดเพื่อทำหน้าที่เลขานุการ 1 คน แต่ถ้าเป็นผู้อยู่ในข่ายที่จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกด้วย ก็ให้เลือกผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับงานการเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่เลขานุการแทน

2. เมื่อมีตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับ 9 ในสำนักงานรัฐมนตรีว่างลง ให้เลขานุการรัฐมนตรีในกระทรวงที่มีตำแหน่งว่าง เสนอข้อมูลต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อส่งต่อไปยังคณะกรรมการ ดังนี้

2.1 ชื่อของตำแหน่งว่าง พร้อมทังรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบและความต้องการของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง เช่น ขอบเขตของงานในหน้าที่ของตำแหน่ง ลักษณะงาน การควบคุมบังคับบัญชา คุณลักษณะของบุคคลที่จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์และจำเป็นต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่ง เป็นต้น ตามเอกสารหมายเลข 1

2.2 รายชื่อข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีคุณสมบัติที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ว่างจากสำนักงานรัฐมนตรีและส่วนราชการต่างๆในกระทรวงส่วนราชการละ 1 - 2 ชื่อ ตามที่สำนักงานรัฐมนตรีเห็นสมควรกำหนด พร้อมข้อมูลบุคคลพื้นฐานอื่นๆที่เกี่ยวกับประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาการฝึกอบรมดูงานประสบการณ์ ความสามารถ ผลงานสำคัญพิเศษ ประวัติทางวินัยในอดีตของข้าราชการผู้นั้น รวมทังเสนอผลการปฏิบัติงานประจำปี ของผู้ซึ่งได้รับการเสนอชื่อ และความเห็นของผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับความเหมาะสมและความพร้อมที่จะเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น ตามเอกสารหมายเลข 2

ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่งานการเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเป็น ผู้ดำเนินการจัดเตรียมเอกสารและข้อมูลต่าง ๆ สำหรับใช้ประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ 3. ให้คณะกรรมการดำเนินการ ดังนี้

3.1 กำหนดเกณฑ์การประเมินบุคคลให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่จะแต่งตั้งโดยถือเกณฑ์ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ประกอบกับ มาตรา 131 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กล่าวคือ ให้คำนึงถึง ความรู้ ความสามารถ ความประพฤติ และประวัติการรับราชการ ซึ่งจะต้องมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้วเป็นหลัก และให้พิจารณาถึงคุณลักษณะอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานในตำแหน่งและส่วนราชการนั้นตามเอกสารหมายเลข 3

3.2 ประเมินและคัดเลือกผู้ซึ่งได้รับการเสนอชื่อทุกคน โดยพิจารณาเทียบข้อมูลบุคคล เช่น คุณสมบัติ ผลงาน ประวัติการรับราชการของแต่ละคน กับหน้าที่ความรับผิดชอบ และความต้องการของตำแหน่ง แล้วคัดเลือกให้เหลือผู้ซึ่งเหมาะสมไว้ไม่เกิน 3 คน

3.3 ให้คณะกรรมการเสนอรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกตาม 3.2 ต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดโดยให้เสนอเรียงลำดับผู้ซึ่งเหมาะสมที่สุดไว้ในลำดับแรก และผู้ซึ่งเหมาะสมรองลงไปในลำดับต่อ ๆ กันไป พร้อมทังความสมควรและเหตุผลไปประกอบการพิจารณาด้วย

4. ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณารายชื่อที่คณะกรรมการเสนอตาม 3.3 แล้วดำเนินการ ดังนี้

4.1 เมื่อได้ใช้ดุลพินิจแล้วเห็นว่า บุคคลใดในรายชื่อผู้ที่คณะกรรมการเสนอเหมาะสมที่จะได้เลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 9 ก็ให้ดำเนินการตามขันตอนการแต่งตั้งต่อไป

4.2 ในกรณีที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเห็นว่ารายชื่อผู้ที่คณะกรรมการเสนอตาม 3.3 ยังไม่เหมาะสมก็ให้ปรึกษากับประธานกรรมการหรือส่งให้คณะกรรมการพิจารณาใหม่ตามที่เห็นสมควร แล้วดำเนินการตาม 4.1 ต่อไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไปทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว

ขอแสดงความนับถือ

(นายปรีชา วัชราภัย)

เลขาธิการ ก.พ.

สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล

โทร. 0 2547 1840

โทรสาร 0 2547 1868

สิ่งที่ส่งมาด้วย

  • รายละเอียดแนวทางและตัวอย่างการจัดทำเครื่องมือประกอบการพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่ง (แนบท้ายหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012/ว 3 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2551)

ว 3/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 9 ในสำนักงานรัฐมนตรี

องค์ความรู้กฎหมาย/หนังสือเวียน/2551/ว_3_หลักเกณฑ์_วิธีการ_และขั้นตอนการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการฯ.txt · Last modified: 2017/11/23 15:17 by puirui