This shows you the differences between two versions of the page.
Next revision | Previous revision | ||
องค์ความรู้กฎหมาย:หนังสือเวียน:2552:ว_21_การดำเนินการตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน_พ.ศ._2551 [2018/03/20 11:45] puirui created |
องค์ความรู้กฎหมาย:หนังสือเวียน:2552:ว_21_การดำเนินการตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน_พ.ศ._2551 [2018/03/20 13:19] puirui |
||
---|---|---|---|
Line 1: | Line 1: | ||
- | ====== ว 21/2552 ====== | + | ====== ว 21/2552 เรื่อง การดำเนินการตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ====== |
+ | ที่ นร 1011/ว 21 | ||
+ | |||
+ | สำนักงาน ก.พ. | ||
+ | |||
+ | ถนนพิษณุโลก กทม. 10300 | ||
+ | |||
+ | 15 กันยายน 2552 | ||
+ | |||
+ | เรื่อง การดำเนินการตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 | ||
+ | |||
+ | เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด) | ||
+ | |||
+ | อ้างถึง หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1011/ว 13 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551 | ||
+ | |||
+ | ตามหนังสือที่อ้างถึง แจังมติ ก.พ. กำหนดการดำเนินการตามบทเฉพาะกาล มาตรา 132 และมาตรา 137 มาเพื่อถือปฏิบัติ นั้น | ||
+ | |||
+ | ก.พ. ได้มีมติกำหนดการดำเนินการตามมาตราดังกล่าวเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ | ||
+ | |||
+ | 1. การดำเนินการเพื่อลงโทษในกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือให้ออกจากราชการในกรณีที่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือในกรณีที่เป็นกรณีความผิดที่ปรากฏลัดแจ้ง หรือเป็นกรณีที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ซึ่งใช้อยู่เดิมตามมาตรา 132 ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. สามัญดังต่อไปนี้ | ||
+ | |||
+ | (1) ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดี หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวงในฐานะอธิบดี เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือเป็นผู้มีอำนาจพิจารณา ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด หรือ อ.ก.พ. กรม ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณี พิจารณา | ||
+ | |||
+ | (2) ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ปลัดกระทรวง หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือเป็นผู้มีอำนาจพิจารณา ให้ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณี พิจารณา | ||
+ | |||
+ | 2. การลงโทษผู้ซึ่งมีกรณีกระทำผิดวินัยอยางไม่ร้ายแรงอยู่ก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นวันที่บทบัญญัติในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ และลักษณะ 5 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ใช้บังคับ ในกรณีที่จะลงโทษในสถานโทษลดขั้นเงินเดือน ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอำนาจสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้นตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษที่ใช้อยู่เดิม โดยนำขั้นเงินเดือนตามตารางการเลื่อนเงินเดือนชั่วคราวสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญที่ ก.พ. กำหนด ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012/ว 5 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธฺ 2552 มาใช้โดยอนุโลม | ||
+ | |||
+ | 3. การลงโทษผู้กระทำผิดวินัยอยางไม่ร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ในกรณีที่จะลงโทษในสถานโทษลดเงินเดือน ตามมาตรา 96 ก็ให้ลงโทษลดเงินเดือนครั้งหนึ่งตามตารางการเลื่อนเงินเดือนชั่วคราวตามข้อ 2 โดยอนุโลมไม่เกินหนึ่งขั้น | ||
+ | |||
+ | 4. ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้สั่งให้สอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่เดิมและในวันที่ 11 ธันวาคม 2551 ยังสอบสวนพิจารณาไม่เสร็จ เมื่อสอบสวนต่อไปเสร็จแล้วให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นรายงาน โดยส่งเรื่องพร้อมทั้งสำนวนการสอบสวนหรือพิจารณา และความเห็นของตนไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 พิจารณาดำเนินการต่อไป | ||
+ | |||
+ | 5. ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้ดำเนินการทางวินัย และในวันที่ 11 ธันวาคม 2551 ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่ได้รับรายงานตามมาตรา 109 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ยังพิจารณาไม่เสร็จก็ให้รายงานโดยส่งเรื่องพร้อมสำนวนการสอบสวนหรือพิจารณาและความเห็นของตนไปให้ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี พิจารณาตามมาตรา 103 | ||
+ | |||
+ | 6. ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้รายงานการดำเนินการทางวินัย การสอบสวน หรือการให้ออกจากราชการไปยังอธิบดี ตามมาตรา 109 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ประกอบกับระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2535 และในวันที่ 11 ธันวาคม 2551 อธิบดียังพิจารณาไม่เสร็จ ให้อธิบดีรางานโดยส่งเรื่องพร้อมทั้งสำนวนการสอบสวนหรือพิจารณาไปให้ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี พิจารณาตามมาตรา 103 | ||
+ | |||
+ | 7. กรณีที่ได้มีการส่งเรื่องการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ให้ อ.ก.พ. สามัญใดพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2551 ให้ อ.ก.พ. สามัญนั้นพิจารณาตามกฎหมายนั้นจนแล้วเสร็จ | ||
+ | |||
+ | 8. กรณีที่ได้มีการรายงานการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการไปยัง อ.ก.พ. กระทรวง โดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2551 ให้ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาตามกฎมหายนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จ | ||
+ | |||
+ | จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว | ||
+ | |||
+ | ขอแสดงความนับถือ | ||
+ | |||
+ | (นายปรีชา วัชราภัย) | ||
+ | |||
+ | เลขาธิการ ก.พ. | ||
+ | |||
+ | สำนักมาตรฐานวินัย | ||
+ | |||
+ | โทร. 0 2547 1631 | ||
+ | |||
+ | โทรสาร 0 2547 1630 | ||
+ | |||
+ | {{ :องค์ความรู้กฎหมาย:หนังสือเวียน:2552:w21-2552_0.pdf |ว 21/2552 เรื่อง การดำเนินการตามบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551}} | ||
+ | |||
+ | {{tag>หนังสือเวียน พ.ร.บ._2551}} |