ที่ นร 1003/ว 15
สำนักงาน ก.พ.
ถนนพิษณุโลก กทม. 10300
28 มิถุนายน 2554
เรื่อง การคัดเลือกข้าราชการเพื่อแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี
เรียน (เวียนกระทรวง กรม และจังหวัด)
อ้างถึง
1. หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 7 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2552
2. หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ว 16 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2552
3. หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.1/ว 2216 ลงวันที่ 30 กันยายน 2540
4. หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1003/ว 9 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2548
5. หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1036/ว 22 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2553
สิ่งที่ส่งมาด้วย แนวทางการจัดทำบัญชีรายชื่ผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ. กำหนด เพื่อเป็นประธาน หรือกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร
ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 และ 2 ก.พ. กำหนดแนวทางการดำเนินการเพื่อใช้ปฏิบัติสำหรัับกรณีการเลื่อนระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างประเภทในตำแหน่งประเภทบริหาร และประเภทอำนวยการ ระดับสูง ที่ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือที่อ้างถึง 3 และ 4 แนวทางในการปฏิบัติการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร และประเภทอำนวยการ ระดับสูง ตามหนังสือที่อ้างถึง 5 ความแจ้งแล้ว นั้น
เพื่อให้การคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ไม่เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่่มีฐานะเป็นกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ทั้งนี้ เฉพาะตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราตามข้อ 3 (3) แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 มีความโปร่งใส เป็นระบบเปิดภายในระบบราชการ มีความคล่องตัว สามารถสับเปลี่ยนหมุนเวียนข้าราชการในส่วนราชการต่าง ๆ ในวงกว้าง สามารถคัดเลือกข้าราชการระดับสูงที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เหมาะสมที่สุดอันจะก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ราชการ และเพื่อให้ระบบ ขั้นตอน และวิธีการดำเนินการคัดเลือกเป็นธรรม และมีความชัดเจน เป็นระบบมากขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 132 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. จึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ไม่เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการท่ี่มีฐานะเป็นกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ทั้งนี้ เฉพาะตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราตามข้อ 3 (3) แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ไว้ดังต่อไปนี้
1. เมื่อมีกรณีที่จะต้องคัดเลือกข้ราชการพลเรือนสามัญผู้ไม่เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ทั้งนี้ เฉพาะตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามข้อ 3 (3) แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 ให้หัวหน้าส่วนราชการที่มีตำแหน่งว่างหรือจะว่างแจ้งชื่อตำแหน่ง เลขที่ตำแหน่ง และหน้าที่ความรับผิดชอบให้ ก.พ. ทราบ เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก
2. ให้ ก.พ. แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก ประกอบด้วย
(1) ผู้ทรงคุณวุฒิที่ อ.ก.พ. กระทรวง เลือกจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่สมควรแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ประธานกรรมการตาม 4 เป็นประธาน
(2) ผู้ทรงคุณวุฒิจากกรรมการ ก.พ. จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ
(3) ผู้ทรงคุณวุฒิที่ อ.ก.พ. กระทรวง เลือกจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่สมควรแต่งตั้งให้ทำหน้าที่กรรมการคัดเลือกตาม 4 จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ
(4) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและอยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อคณะรัฐมนตรี และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ทั้งนี้ เฉพาะตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามข้อ 3 (3) แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 แล้วแต่กรณี เป็นกรรมการ
(5) เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ
ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งตาม (4) พ้นจากตำแหน่งก่อนการพิจารณาคัดเลือก ให้คณะกรรมการคัดเลือก ประกอบด้วย กรรมการตาม (1) (2) (3) และ (5)
ให้คณะกรรมการคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญผู้รับผิดชอบการดำเนินการบริหารทรัพยากรบุคคลของกระทรวงหรือส่วนราชการดังกล่าว เป็นผู้ช่วยเลขานุการ จำนวนไม่เกินสองคน
กรรมการตาม (5) ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง หรือผู้รักษาราชการแทน
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมคณะกรรมการคัดเลือก โดยอนุโลม
3. คณะกรรมการคัดเลือกมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือก
(2) พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครที่เห็นว่าเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง
(3) พิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่มีปัญหาในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
(4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยดำเนินการหรือปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย
4. ให้สำนักงาน ก.พ. จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่สมควรแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ประธานกรรมการและบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่สมควรแต่งตั้งให้ทำหน้าที่่กรรมการคัดเลือก ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด และต้องปรับปรุงรายชื่่อในบัญชีดังกล่าวอย่างน้อยทุกปี
5. ให้หัวหน้าส่วนราชการชี้แจงหน้าที่ความรับผิดชอบ ขอบเขตของงาน ลักษณะงาน ความรู้ ความสามารถ และข้อมูลอื่นที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งดังกล่าว ให้คณะกรรมการคัดเลือกทราบ และให้คณะกรรมการคัดเลือกขอทราบสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับงานที่ต้องการจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
6. เมื่อได้รับข้อมูลตาม 5 แล้ว ให้คณะกรรมการคัดเลือกกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือก โดยอาจกำหนดให้ใช้วิธีการสัมภาษณ์ การเสนอวิสัยทัศน์ การทดสอบความสามารถ การสอบข้อเขียน หรือวิธีการอย่างอื่น วิธีการอื่นใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีตามที่เห็นว่าเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การคัดเลือกตาม 8
ให้คณะกรรมการคัดเลือกประกาศรับสมัครผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนด พร้อมกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้ทราบล่วงหน้าเป็นการทั่วไป
ประกาศตามวรรคสอง ต้องประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนวันเปิดรับสมัครไม่น้อยกว่าสามวันทำการ และต้องมีระยะเวลาในการรับสมัครไม่น้อยกว่าเจ็ดวันทำการ
7. ให้ผู้ประสงค์จะเข้ารับการคัดเลือก ยื่นใบสมัครเข้ารับการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคัดเลือกกำหนดตามประกาศรับสมัครตาม 6
8. ให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผลสัมฤทธิ์ของงานอันเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถ โดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติราชการย้อนหลังไม่น้อยกว่าสามปี
(2) สมรรถนะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ตามท่ี่ ก.พ. กำหนด
(3) ประวัติการรับราชการ ความประพฤติ ความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ
(4) วิสัยทัศน์และเป้าหมายสัมฤทธิ์ของการบริหารงาน
9. ให้คณะกรรมการคัดเลือกเสนอรายชื่อผู้ที่่เหมาะสมที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจำนวนสามคน เรียงตามลำดับตัวอักษร พร้อมทั้งระบุเหตุผลและความเหมาะสมของผู้ได้รับการเสนอชื่อแต่ละรายชื่อส่งหัวหน้าส่วนราชการนั้น เพื่อเสนอให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาต่อไป
ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นที่ทำให้มีผู้ได้รับการคัดเลือกน้อยกว่าจำนวนที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้เสนอรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกตามจำนวนที่คัดเลือกได้นั้นพร้อมเหตุผล แต่ถ้าไม่มีผู้ใดได้รับการคัดเลือก ให้เริ่มต้นดำเนิินการคัดเลือกใหม่
10. ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาเลือกผู้ที่เห็นว่าเหมาะสมที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากรายชื่อที่คณะกรรมการคัดเลือกเสนอตาม 9 และให้ระบุความสมควรที่จะได้รับการแต่งตั้งพร้อมทั้งเหตุผลในการดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ต่อไป
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีเจ้าสังกัดจะปรึกษาหารือกับคณะกรรมการคัดเลือกก็ได้ ในกรณีที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเห็นสมควร จะขอให้คณะกรรมการคัดเลือกดำเนินการคัดเลือกใหม่ก็ได้
11. ในระหว่างที่สำนักงาน ก.พ. ยังจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตาม 4 ไม่แล้วเสร็จ ให้ อ.ก.พ. กระทรวง เสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตาม 2 (1) และ (3) เพื่อให้ ก.พ. พิจารณาแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการคัดเลือก ตามความเหมาะสม
12. การใดที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดไว้ในหนังสือที่อ้างถึงข้างต้น ก่อนวันที่หนังสือฉบับนี้ใช้บังคับ ให้คงดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดไว้ในหนังสือที่อ้างถึงข้างต้น ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ได้แจ้งให้กรมและจังหวัดทราบด้วยแล้ว
ขอแสดงความนับถือ
(นายนนทิกร กาญจนะจิตรา)
เลขาธิการ ก.พ.
ศูนย์นักบริหารระดับสูง
โทร. 0 2547 1734
โทรสาร 0 2547 1736