OCSC Wiki

คลังกลางความรู้ด้าน HR

User Tools

Site Tools


90years

9 ทศวรรษแห่งการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน

ทศวรรษที่ 1 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางรากฐานระบบข้าราชการพลเรือน
(พ.ศ. 2471-2480) การเลือกสรรคนเข้าเป็นข้าราชการพลเรือน
การจ้างงานของข้าราชการพลเรือน
การให้ค่าตอบแทน
2476 บทบาทของ ก.พ.
ระบบจำแนกตำแหน่ง
เปลี่ยนแปลงระบบการให้ค่าตอบแทน
2479 หน้าที่เพิ่มเติมของ ก.พ.
ทศวรรษที่ 2 2482 การลงโทษทางวินัย
(พ.ศ. 2481-2490)
2485 ยกเลิกข้าราชการพลเรือนฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร
2489 ให้ข้าราชการทหารมารักษาการในตำแหน่งข้าราชการพลเรือนได้
ทศวรรษที่ 3 2495 เพิ่มบทบาทด้านการออกกฏและกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้กระทรวง ทบวง กรม ปฏิบัติหน้าที่
(พ.ศ. 2491-2500)
2497 มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
ทศวรรษที่ 4 2502 การพิจารณาสั่งเลืื่อนอันดับและขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนส่วนภูมิภาคเป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการส่วนกลาง
(พ.ศ. 2501-2510)
2510 ปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือน
ทศวรรษที่ 5 2518 เปลี่ยนระบบโครงสร้างของข้าราชการพลเรือนจากระบบชั้นยศเป็นระบบจำแนกตำแหน่ง
(พ.ศ. 2511-2520) แบ่งข้าราชการพลเรือนออกเป็น 6 ประเภท
ก.พ. มีอำนาจควบคุมการบริหารงานบุคคลของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ
2520 กฎ ก.พ. ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ทศวรรษที่ 6 2521 แยกข้าราชการตำรวจออกจากข้าราชพลเรือน
(พ.ศ. 2521-2530)
2522 นายกรัฐมนตรีสามารถมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธาน ก.พ. แทนได้
2523 แยกข้าราชการครูออกจากข้าราชการพลเรือน
ทศวรรษที่ 7 2535 เพิ่มบำเหน็จความชอบ (รางวัล คำชมเชย)
(พ.ศ. 2531-2540) ก.พ. มีหน้าที่กำกับการบริหารงานบุคคลของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ
เปลี่ยนแปลงระบบวินัยข้าราชการพลเรือน
ปรับปรุงบทบาทของ ก.พ.
ทศวรรษที่ 8 2545 ข้าราชการทุกประเภทในสังกัดฝ่ายบริหารได้รับเงินรางวัลประจำปี
(พ.ศ. 2541-2550) กำหนดนโยบายการปฏิรูประบบราชการ
ทศวรรษที่ 9 2551 ปรับปรุงสาระสำคัญ 10 ประการ
(พ.ศ. 2551-2560) การพิทักษ์ระบบคุณธรรม

ความท้าทายใหม่ของข้าราชการไทยในทศวรรษหน้า

ทศวรรษที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๗๐)

สิ่งที่ท้าทายที่สุดในวันนี้ ก็คือ การพิสูจน์ตัวเองของข้าราชการ ยุคนี้เราเรียกกันว่าเป็นยุค ป.ย.ป.

ป. ตัวแรก ย่อมาจากคำว่า ปฏิรูป

ย.ยักษ์ ย่อมาจากคำว่า ยุทธศาสตร์ชาติ

ป. ตัวหลังย่อมาจาก สามัคคีปรองดอง

ปรองดองนั้น แค่ไม่ขัดแย้งไม่ทะเลาะกันก็ปรองดองไปได้ในระดับหนึ่ง จึงอาจจะไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรมาก แต่ ป. ตัวแรก กับ ย.ยักษ์ คือ ปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาตินั้น การที่จะทำงานตอบสนองสองเรื่องนี้ จำเป็นที่จะต้องลงทุนลงแรงพอสมควร จะต้องอดทนและอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เราเคยทำงานมาช้านาน

วันนี้ระบบราชการเราจะต้อง

Faster คือ ให้เร็วขึ้นกว่าที่เดิมเคยทำ

Cheaper คือ ถูกลงจากต้นทุนที่เคยใช้ไปในอดีต

Easier คือ ง่ายลง กว่าที่เคยลำบากยากแค้นในอดีต

จากบทสัมภาษณ์รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ประธาน ก.พ.

90years.txt · Last modified: 2018/03/26 10:08 by buntarika.i